ในที่สุดนายเลิดได้สละทุนทรัพย์ส่วนตัวบริจาค 7,000 บาท สมทบกับกระทรวงธรรมการ (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) ซึ่งได้อนุมัติเงินให้ดำเนินการก่อสร้างอาคารอีก 4,850 บาท สร้างอาคารเรียนหลังใหม่ขึ้นที่บริเวณตัวจังหวัดมีนบุรี บนเนื้อที่ 3 ไร่เศษ (เยื้องที่ทำการหอทะเบียนและกรมที่ดินมีนบุรี) อันเป็นที่ตั้งของโรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ปัจจุบันอาคารเรียนที่ก่อสร้างขึ้นนี้ มีลักษณะเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว ทรงปั้นหยา มุขปิด มุขเปิด ใต้ถุนสูง กว้าง 8 เมตร ยาว 36 เมตร มีจำนวนห้องเรียน 5 ห้อง ทำการก่อสร้างเรียบร้อยและเปิดทำ การสอน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2471 ทำพิธีเปิดโดย พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าธานีนิวัต เสนาบดีกระทรวงธรรมการในสมัยนั้น เเละยกฐานะขึ้นเป็นโรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี (เศรษฐบุตรบำเพ็ญ) เป็นโรงเรียนสหศึกษา ต่อมาเมื่อมีนักเรียนเพิ่มมากขึ้น จึงได้ก่อสร้างเพิ่มเติม ชั้นล่างของอาคารเรียนให้เป็น ห้องเรียนเพิ่มขึ้นอีกเป็น 3-5 ห้อง และได้ขออนุญาติทางราชการขอบริเวณสำหรับกั้นรั้วโรงเรียน เพื่อจะได้มีขอบเขตแน่นอน สะดวกในการควบคุมนักเรียน ตลอดจนเพื่อเป็นการตกแต่สถานที่ให้สวยงามเป็นระเบียบ
ในปี พ.ศ. 2475 ผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ทางราชการ ได้ยุบจังหวัดมีนบุรี และรวมอำเภอมีนบุรีไปขึ้นกับจังหวัดพระนคร โรงเรียนประจำจังหวัดมีนบุรี (เศรษฐบุตรบำเพ็ญ) จึงเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ สังกัดแผนกโรงเรียนส่วนกลาง กองโรงเรียนรัฐบาล กรมวิสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้นทุกปี ทำให้เนื้อที่บริเวณ โรงเรียนคับแคบ ไม่เพียงพอที่จะก่อสร้างอาคารเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้น คุณหญิงสิน ภักดีนรเศรษฐ ผู้อุปการะโรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ จึงได้จัดหาที่ดินเพื่อ ปลูกสร้างอาคารหลังใหม่ขึ้น
ในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2493 คุณหญิงสิน ภักดีนรเศรษฐ ได้ซื้อที่ดินจำนวน 32 ไร่ 2 งาน 97 ตารางวา อยู่ริมถนนรามอินทรา ห่างจากโรงเรียนเดิมประมาณ 2 กิโลเมตร เมื่อได้ที่ดินเรียบร้อยแล้ว นายณรงค์ วีริยินทะ ครูใหญ่ ได้ทำรายงานขออนุญาตทางราชการเพื่อทำการก่อสรางอาคารเรียนหลังใหม่บนที่แห่งใหม่
พ.ศ.2496 | กระทรวงศึกษาธิการอนุมัติงบประมาณก่อสร้างอาคารเรียนบน ที่ดินแห่งใหม่เป็นอาคารเรียนหลังแรก ชื่ออาคารเลิดสิน อาคารที่ก่อสร้างขึ้นใหม่เป็นตึก 2 ชั้น กว้าง 8 เมตร ยาว 72 เมตร สูง 9.5 เมตร มีจำนวนห้องเรียน 12 ห้องเรียน นอกจากนี้ยังมีห้องครูใหญ่ ห้องรับแขก ห้องพยาบาล และห้องพัสดุ รวมทั้งหมด 18 ห้อง ราคาก่อสร้างทั้งสิ้น 1,650,000 บาท ในจำนวนค่าก่อสร้างนี้คุณหญิงสิน ภักดีนรเศรษฐ ได้บริจาคสมทบ 100,000 บาท (ปัจจุบัน "อาคารเลิดสิน" ได้รื้อไปแล้ว) |
พ.ศ.2498 | ได้ย้ายนักเรียนชายจากตัวเมืองมีนบุรีออกมาเรียน ณ สถานที่ แห่งใหม่ เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ใช้ชื่อว่า โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ส่วน สถานที่เดิมรับเฉพาะนักเรียนหญิง โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนสตรีเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ผู้มาทำพิธีเปิดอาคารเรียนคือ พลเอกมังกร พรหมโยธี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น นอกจากก่อสร้างอาคารเรียนดังกล่าวแล้ว ทางโรงเรียนยังได้ก่อสร้าง อาคารเรียนอื่น ๆ เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้นทุกปี รวมถึง การพัฒนาสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน เพื่อเอื้ออำนวยต่อการสร้างบรรยากาศ การเรียนการสอน ดังรายการต่อไปนี้ |
พ.ศ.2514 | ก่อสร้างอาคารฝึกงาน 1 |
พ.ศ.2519 | ก่อสร้างอาคารฝึกงาน 2 และอาคารเรียนชั่วคราว 4 ห้องเรียน |
พ.ศ.2520 | ก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 8 ห้องเรียน |
พ.ศ.2521 | กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ค. 18 ห้องเรียน 1 หลัง (อาคาร 2) |
พ.ศ.2523 | ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแบบ สหศึกษา |
พ.ศ.2525 | กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ค. 18 ห้องเรียน 1 หลัง (อาคาร 3) |
พ.ศ.2527 | กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างหอประชุม อเนกประสงค์ชั้นเดียว 1 หลัง และทำคันดินกั้นน้ำนอกโรงเรียน |
พ.ศ.2530 | กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณให้สร้างอาคารฝึกงาน แบบ 306 จ/27 (อาคาร 6) หลังจากได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีเด่นขนาดใหญ่ของ กรมสามัญศึกษา |
พ.ศ.2534 | กรมสามัญศึกษา อนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ค. 18 ห้องเรียน 1 หลัง แทนอาคารเลิดสิน 2 ชั้น 12 ห้องเรียน (อาคาร 1) ที่ขออนุญาตรื้อถอนไปเพราะชำรุดทรุดโทรม (อาคาร 1) และปีนี้กรมสามัญศึกษาอนุญาตให้รับนักเรียนชายหญิงแบบสหศึกษาในระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น |
พ.ศ.2536 | กรมสามัญศึกษา อนุมัติงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารเรียนแบบ 318 ค. 18 ห้องเรียน 1 หลัง (อาคาร 4) นอกจากนี้ทางโรงเรียนยังได้ขอ งบประมาณมาถมสนามฟุตบอล และหาเงินบริจาค สร้างหอถังจ่ายน้ำมีนบุรี คณารักษ์ ศาลาเกิดหนุนวงศ์ ปรับปรุงห้องปฏิบัติการทางภาษาและห้องคอมพิวเตอร์ |
พ.ศ.2537 | ก่อสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์กาญจนาภิเษกโดยบริจาคจากผู้มี จิตศรัทธา จำนวน 3,392,511.39 บาท (สามล้านสามแสนเก้าหมื่นสองพันห้าร้อยสิบเอ็ดบาทสามสิบเก้าสตางค์) |
พ.ศ.2540 | กรมสามัญศึกษาอนุมัติงบประมาณให้สร้างอาคารเรียนแบบพิเศษ 424 สี่ชั้น (อาคาร 5) |
พ.ศ.2542 | ทำพิธีเปิดอาคารพิพิธภัณฑ์กาญจนาภิเษก ซึ่งได้เริ่มทำการ ก่อสร้างในสมัยของนายสำเนา แสงมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนในขณะนั้น และนายสุนทร ธาราดล อดีตผู้อำนวยการโรงเรียน ดำเนินการก่อสร้างต่อจนเสร็จ โดยได้รับการอนุเคราะห์จากพระครูมีนบุรีคณารักษ์ เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ศรัทธาธรรม และพระครูวิมลวิหารกิจ เจ้าอาวาสวัดลาดปลาเค้า กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 มีนายโกวิท วรพิพัฒน์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานพิธีเปิด |